กลุ่มอาณาจักรมอเนอรา

     เป็นออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ อาณาจักรย่อยอาร์เคียแบคทีเรีย (Subkingdom Archaebacteria) และ อาณาจักรย่อยยูแบคทีเรีย (Subkingdom Eubacteria) 

     1. อาณาจักรย่อยอาร์เคียแบคทีเรีย (Subkingdom Archaebacteria) 
เป็นแบคทีเรียที่ผนังเซลล์ไม่มีสารเพปทิโดไกลแคน สามารถดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ิสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นอาจไม่สามารถดำรงอยู่ได้ เช่น ในแหล่งน้ำพุร้อน ทะเลที่มีน้ำเค็มจัด ในบริเวณที่มีความเป็นกรดสูงและบริเวณทะเลลึกเป็นต้น 

แบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.1 กลุ่มยูริอาร์เคียโอตา ซึ่งสร้างมีเทนและชอบความเค็มจัด 
1.2 กลุ่มครีนาร์เคียโอตา ซึ่งชอบอุณหภูมิสูงและกรดจัด


กลุ่มยูริอาร์เคียโอตา


กลุ่มครีนาร์เคียโอตา

     2.อาณาจักรย่อยยูแบคทีเรีย (Subkingdom Eubacteria) 

     ยูแบคทีเรียเป็นแบคทีเรียที่สามารถพบได้ทั้งในดิน น้ำ อากาศ อาหาร นม และในร่างกายของสิ่งมีชีวิตอื่น สามารถพบได้ทั้ง ในน้ำเค็ม น้ำจืด น้ำกร่อย ในธารน้ำแข็ง หรือแม้กระทั่งแหล่งน้ำพุร้อน เป็นต้น  นอกจากนี้ยูแบคทีเรียมีกระบวนการเมแทบอลิซีมในการดำรงชีวิตที่หลากหลาย จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศ ยูแบคทีเรียแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆดังนี้
     
     2.1 กลุ่มโพรทีโอแบคทีเรีย (Proteobacteria)

     เป็นยูแบคทีเรียแกรมลบที่พบมากที่สุดและมีกระบวนการเมแทบอลิซึมที่หลากหลายบางกลุ่มสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้คล้ายพืช บางกลุ่มสามารถดำรงชีวืตโดยใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และให้ซัลเฟอร์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น เพอเพิลซัลเฟอร์แบคทีเรีย (purple sulfur bacteria) บางกลุ่มมีบทบาทช่วยตรึงแก๊สไนโตรเจนในอากาศมาสร้างเป็นสารประกอบไนโตรเจนในดิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น Rhizobium sp. ในปมรากของพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น



    
     2.2 กลุ่มคลาไมเดีย (Chlamydias) 

     เป็นยูแบคทีเรียแกรมลบที่เป็นปรสิตในเซลล์และทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคโกโนเรียหรือหนองใน เป็นต้น

     
     2.3 กลุ่มสไปโรคีท (Spirochetes)

     เป็นยูแบคทีเรียแกรมลบที่มีรูปทรงเกลียว มีความยาวประมาณ 0.25 มิลลิเมตร ยูแบคทีเรียในกลุ่มนี้มีทั้งดำรงชีวิตแบบอิสระและบางสปีชีส์เป็นสาเหตุของ โรคซิฟิลิส โรคฉี่หนู เป็นต้น


    
     2.4 แบคทีเรียแกรมบวก (Gram-Positive Bacteria)

     เป็นยูแบคทีเรียที่พบแพร่กระจายทั่วไปในดิน อากาศ บางสปีชีส์สามารถผลิตกรดแลกติกได้ เช่น Lactobacillus sp. จึงนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายชนิด เช่น การทำเนย ผักดอง และโยเกิร์ต เป็นต้น บางสปีชีส์ เช่น Streptomyces sp. ใช้ยาทำปฏิชีวนะ เช่น ยาสเตร็บ โตมัยซิน ยาเตตราไซคลิน เป็นต้น ยูแบคทีเรียกลุ่มนี้บางสปีชีส์ เช่น Bacillus sp. สามารถสร้างเอนโดสปอร์ (endospore) ทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีและบางชนิดเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์

     ยูแบคทีเรียแกรมบวกอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มทึ่ไม่มีผนังเซลล์มีเพียงเยื่อหุ้มเซลล์ที่ประกอบด้วยชั้นของไขมันได้แก่ ไมโคพลาสมา (mycoplasms) เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 0.2-0.3 ไมโครเมตร สามารถเจริญและสืบพันธุ์ได้นอกเซลล์โฮสต์ ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น แต่มีบางสปีชีส์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคปอดบวมในคนและวัว

   

     5. ไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria) 

     เป็นยูแบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ มีสารสีเช่น คลอโรฟิลล์เอ แคโรทีนอยด์ และโฟโคบิลินอยู่ภายในถุงแบนๆที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ พบแพร่กระจายในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายทั้งในแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม บางสปีชีส์พบในบ่อน้ำพุร้อน และภายใต้น้ำแข็งของมหาสมุทร เป็นต้น จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนได้ว่าไซยาโนแบคทีเรียทำให้ออกซิเจนในบรรยากาศเพิ่มขึ้น มากขึ้นในโลกยุคนั้นและก่อให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่หายใจโดยใช้ออกซิเจนในปัจจุบัน



     
     ไซยาโนแบคทีเรียเป็นผู้ผลิตที่สำคัญในระบบนิเวศและบางชนิดสามารถตรึงแก๊สไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบไนเตรต เช่น แอนาบีนา (Anabaena) นอสตอก (Nostoc) และออสซิลลาทอเรีย (Oscillatoria)

 
 Anabaena

Nostoc

Oscillatoria

     แบคทีเรียมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในระบบนิเวศ เนื่องจากมีการดำรงชีวิตแบบภาวะย่อยสลายจึงทำให้เกิดการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ มีการนำแบคทีเรียมาใช้กำจัดขยะที่มีมากในเมืองใหญ่ ใช้สลายคราบน้ำมันบริเวณชายฝั่งและบริเวณทะเล รวมทั้งกำจัดสารเคมีที่ตกค้างจากการเกษตรอีกด้วย นอกจากนี้อาร์เคียแบคทีเรียบางกลุ่มสามารถสลายกากของแข็งจากขยะให้เป็นปุ๋ยซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ในด้านการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศพบว่าแบคทีเรียหลายกลุ่มที่สามารถตรึงไนโตรเจน เช่น แบคทีเรียในกลุ่มไรโซเบียม อะโซโตแบคเตอร์และไซยาโนแบคทีเรียทางด้านอุตสาหกรรมได้นำยูแบคทีเรียมาใช้ในการผลิตสารเคมี เช่น แอซีโตน กรดแลคติก ยาปฏิชีวนะหลายชนิดและผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น น้ำส้มสายชู ปลาร้า ผักดอง ปลาส้ม นมเปรี้ยวและเนยแข็งเป็นต้น

     ยูแบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิดที่พบในคนและสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น โรคปอดบวม วัณโรค อหิวาตกโรค โรคฉี่หนู และ โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น